วันพฤหัสบดีที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

บทความความซื่อสัตย์


"...ความซื่อสัตย์ สุจริตเป็นพื้นฐานขอความ ดีทุกอย่าง เด็กๆ จึงต้องฝึกฝนอบรมให้ เกิดมีขึ้นในตนเอง เพื่อจักได้เติบโตขึ้นเป็นคนดีมี ประโยชน์ และมีชีวิตที่สะอาดที่เจริญมั่นคง..."



ความตอนหนึ่ง ในพระบรมราโชวาท
พระราชทานเนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ปี ๒๕๓๑


ความซื่อสัตย์
ในสังคมวันนี้ ความซื่อสัตย์ได้กลับกลายเป็นเรื่องเล็กน้อยเมื่อคนส่วนใหญ่ละเลย ด้วยจิตสำนึกผิดชอบที่คิดว่าเป็นเรื่องที่สามารถปฏิบัติได้โดยง่าย แต่ในความจริงแล้วความซื่อสัตย์เป็นเรื่องท้าทายใจอยู่ทุกขณะจิต เราต้องตัดสินใจที่ตอบรับหรือปฏิเสธว่าเราจะยังเดินอยู่ในกรอบแห่งความถูกต้องหรือไม่ ความซื่อสัตย์ที่แท้จริงยังเป็นเรื่องที่ต้องวัดได้ในขณะที่ยังไม่มีใครควบคุม ไม่มีใครรู้ไม่มีใครเห็น ไม่มีใครมาคอยบังคับอีกด้วย
ความซื่อสัตย์เป็นสิ่งที่มาจากใจจริง   :   ความซื่อสัตย์ในสังคมจัดเป็นปัญหาระดับชาติที่เริ่มตั้งแต่ตัวบุคคล สังคม และประเทศชาติ ภัยร้ายของความไม่ซื่อสัตย์ในสังคมมีมูลเหตุจากค่านิยมในการวัดความสำเร็จจากความมั่นคั่งแห่งอำนาจเงินและวัตถุ ก่อให้เกิดพฤติกรรมการดำเนินชีวิตในลักษณะกอบโกย ฉ้อฉล คดโกง ใช้อิทธิพลขู่บังคับแลกกับความมั่งคั่งให้มากและรวดเร็วที่สุด
การดำเนินชีวิตที่ไม่ซื่อสัตย์ จะกลายเป็นความน่าเศร้าในระยะต่อไป บุคคลเหล่านี้อาจจะไม่รู้ว่าตนเองได้ยึดความล้มเหลวที่ถูกปิดซ่อนมองไม่เห็นไว้ด้วยความหลงผิด เพราะแท้จริงแล้วมันคือ ความล้มเหลวที่เปรียบเสมือนระเบิดเวลาแห่งความหวาดกลัวที่เกรงว่าคนจะจับได้ เป็นเหมือนหนามเล็กๆที่คอยทิ่มแทงใจ
 การตั้งมั่นอยู่ในความซื่อสัตย์เป็นเรื่องของความจำเป็น   :   ไม่มีใครปรารถนาอยู่ในสังคมที่ปราศจากความซื่อสัตย์เพราะจะต้องอยู่อย่างหวาดระแวงและไม่มีความสุข เราต่างก็ปรารถนาความจริงใจจากกันและกันทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นความซื่อสัตย์จากครอบครัว ชุมชน หรือสังคม
หากเราเป็นผู้หนึ่งที่มีความมุ่งหมายในเป้าชีวิตสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืน เราต้องปฏิเสธการดำเนินชีวิตที่เห็นเพียงแต่ผลประโยชน์ระยะสั้นเฉกเช่นเดียวกับคนที่ดำเนินชีวิตคดโกงอื่นๆ ที่มีอยู่ในสังคม เราจำเป็นต้องยึดมั่นอยู่ในความซื่อสัตย์ และพัฒนาจิตสำนึกภายในให้มั่นคงโดยยึดหลักแห่งการตัดสินใจที่ละเลือกความซื่อสัตย์อย่างแท้จริง
สาเหตุของความไม่ซื่อสัตย์ประเภทหนึ่ง คือ ความหลงอำนาจ เมื่อมีอำนาจเพิ่มมากขึ้น คนเราก็มักจะมีแนวโน้มที่จะใช้อำนาจในทางที่ผิดมากขึ้นด้วย คือ เมื่อมีอำนาจก็หลงตน คิดว่าประสบความสำเร็จและสามารถจะทำอะไรก็ได้ รากแห่งความไม่ซื่อสัตย์ในชีวิตอาจทำให้ผู้มีอำนาจหลงไปโดยการใช้อำนาจในทางที่ผิดได้ บางคนอาจถูกล่อลวงด้วยเงินทอง เกียรติยศ ชื่อเสียง จนกระทั่งปฏิเสธความซื่อสัตย์ที่มีอยู่ในชีวิตอย่างสิ้นเชิง
อ้างอิงจาก http://www.thaihealth.or.th/
อ้างอิงจาก  http://reocities.com/


บทความเกี่ยวกับความรับผิดชอบ



“ความรับผิดชอบ

สำคัญที่สุด ต้องเข้าใจความหมายของคำว่า ความรับผิดชอบให้ถูกต้อง ขอให้เข้าใจว่า รับผิดไม่ใช่การรับโทษหรือถูกลงโทษ รับชอบไม่ใช่รางวัลหรือรับคำชมเชย การรู้จักรับผิด หรือยอมรับว่า อะไรผิดพลาดเสียหาย และเสียหายเพราะอะไร เพียงใดนั้น มีประโยชน์ ทำให้บุคคลรู้จักพิจารณาตนเอง ยอมรับความผิดของตนเองโดยใจจริง เป็นทางที่จะช่วยแก้ไขความผิดได้ และให้รู้ว่าจะต้องปฏิบัติแก้ไขใหม่ ส่วนการรู้จักรับชอบหรือรู้ว่าอะไรถูก อันได้แก่ถูกตามความมุ่งหมาย ถูกตามหลักวิชา ถูกตามวิธีการนั้น มีประโยชน์ทำให้ทราบแจ้งว่า จะทำให้งานเสร็จสมบูรณ์ได้อย่างไร จักได้ถือปฏิบัติต่อไป .…….......... ความรับผิดชอบ คือ หน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้ทำ จะหลีกเลี่ยง ละเลยไม่ได้


(พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๑๙)
อ้างอิงจาก http://thaisocialwork.igetweb.com/

วันเสาร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2555

วิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและการศึกษาสำหรับครู

คำอธิบายรายวิชา
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร เช่น ไมโครซอฟท์คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ระบบการสื่อสารข้อมูล ระบบเน็ตเวิร์ด ระบบซอฟท์แวร์ การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ เครื่องมือการเข้าถึงสารสนเทศ ทักษณะการเข้าใจถึงสารสนเทศ ฐานข้อมูลสารสนเทศ ห้องสมุด อิเล็กทรนิกส์ และอ้างอิง ฝึกปฎิบัติความสามารถใช้คอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐานและเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารได้อย่างเหมาะสมได้

วัตถุประสงค์ในรายวิชา
เมื่อนักเรียนศึกษาเนื้อหาบทเรียนจบแล้วตามหลักสูตรแล้วจะมีพฤติกรรมหรือความสามารถดังนี้
1.อธิบายความหมายความสำคัญและองค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้
2.อธิบายความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารได้
3.ยกตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสานในชิวิตจริงได้
4.อธิบายความหมายและความสำคัญของวิธีระบบได้
5.อธิบายความสัมพันธ์ของวิธีระบบกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้
6.บอกความหมายและองค์ประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์ได้
7.อธิบายหน้าที่ขององค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ได้
8.บอกประเภทและคุณสมบัติของซอฟท์แวร์แต่ละประเภทได้
9.บอกความหมายและความสำคัญของอินเตอร์เน็ตได้
10.บอกความสัมพันธ์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้
11.อธิบายแหล่งเรียนรู้ต่างๆที่สามารถเชื่อโยงเป็นเครือข่ายได้
12.อธิบายวิธีประยุกต์ใช่เทคโนโลยีสารสนเทศ กับการศึกษาได้
13.ยกตัวอย่างโปรแกรมต่างๆที่สามารถนำมาประยุกค์ใช่กับการเรียนการสอนได้
14.สร้างสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอนได้
15.นำเสนอสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งที่เป็นสื่อทั่วไปและสื่อระบบเครือข่ายได้

เนื้อหาบทเรียน
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1. ความรู้พื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2. ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3. คอมพิวเตอร์และระบบคอมพิวเตอร์
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4. ซอฟต์แวร์
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5. ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
หน่วยการเรียนรู้ที่ 6. อินเตอร์เน็ต
หน่วยการเรียนรู้ที่ 7.การประยุคใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการรียนการสอน
หน่วยการเรียนรู้ที่ 8. การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศการนำเสนอผลงานamornthep1@blogger.com